ลิ้มลองสาลี่หวาน ๆ อร่อย ๆ บนดอยอ่างขาง...


          โครงการหลวงดอยอ่างขางได้มีการวิจัยนำพืชพรรณไม้เขตหนาวมาทดลองปลูกในพื้นที่ศูนย์ฯ ต่างๆ ของโครงการหลวงดอยอ่างขาง   สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขางก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการทำงานวิจัยพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ทั้ง ผัก ผลไม้ และดอกไม้เมืองหนาว ไม้ผลเขตหนาวมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยเฉพาะสาลี่เป็นไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกที่สูงจากน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มทดลองปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2508 ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเรื่อยมา ขณะนี้แหล่งปลูกสาลี่ที่ปัจจุบันสาลี่ที่ปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีพื้นที่ปลูกภายในสถานีฯ 10 ไร่ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และทั้ง 2 พันธุ์นี้จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก คือ



ผลผลิตมีคุณภาพดี เปลือกมีสีน้ำตาลและน้ำหนักต่อผลเฉลี่ยอยู่ประมาณ 250-300 กรัม เนื้อผลละเอียด ไม่มีลักษณะเป็นทราย รสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม ผลผลิตจะเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปี ปริมาณผลผลิตในแต่ละปีประมาณ 2,200-3,000 กก. ต้นสาลี่ถือเป็นไม้ผลยืนต้นสามารถเจริญเติบโตได้ถึง 20 ปีขึ้นไป ต้นสาลี่ที่มีอายุ 2-3 ปีหลังปลูก จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  สาลี่นิยมใช้บริโภคสดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถนำไปแปรรูปได้ เช่น สาลี่ดอง สาลี่แช่อิ่ม ในด้านประโยชน์และคุณค่าอาหารนั้น สาลี่เป็นผลไม้ที่มี วิตามินเอ บี 1 บี 2 และวิตามินซี นอกจากนี้สาลี่ยังมีสรรพคุณในการแก้ร้อนใน ช่วยให้ปอดชุ่ม ช่วยล้างกระเพาะอาหารให้อาหารผ่านลำไส้สะดวก ช่วยขจัดความร้อน ขับลม ละลายเสมหะ และระงับอาการไอได้ดี  ผลผลิตสาลี่คุณภาพดีและปลอดภัยจากสารเคมี    จึงถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของดอยอ่างขาง