ลูกพลับหวาน ๆ อร่อย ๆ จากดอยอ่างขาง....


ลูกพลับ         ในช่วงใกล้ฤดูฝนเข้ามานี้ในยามนี้ผลไม้ที่ให้ผลผลิตในโครงการหลวงดอยอ่างขาง คือ พลับ   “พลับเป็นไม้ผลกึ่งร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,000 เมตรขึ้นไป เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นสูง ลำต้นแข็งแรง ผลแก่มีสีเหลืองส้ม มีรูปทรงเรียวหรือมีลอนเป็นเหลี่ยมและแบน เนื้อผลมีสีเหลืองหรือแดงเข้มอมน้ำตาล   ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงดอยอ่างขาง  เล่าว่า... พลับที่นำมาปลูกในโครงการหลวงดอยอ่างขาง นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำพันธุ์ เข้ามาวิจัยร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวงที่ สวนสองแสนสถานีวิจัยดอยปุย หลังจากได้รับผลสำเร็จในการวิจัย จึงนำไปทดลองปลูก ยังศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ห้วยน้ำขุ่น แม่ปูนหลวง อินทนนท์ ทุ่งหลวง และ สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง... จากนั้นก็ได้ขยายจ่ายแจก ไปยังเกษตรกรบนพื้นที่สูงนำไปปลูกเป็นอาชีพ   


          โดยเมื่อปี 2508มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มงานวิจัย และทดลองปลูกไม้ผลเขตหนาวขึ้นที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในปี 2512 ถือเป็นมงคลสูงสุด ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 บาท ในการสนับสนุนงานวิจัยต่อมาจึงได้ เรียกชื่อพื้นที่ที่ใช้ดำเนินการวิจัยแห่งนี้ว่า สวนสองแสนพลับ...เป็นผลไม้ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินชนิดต่างๆ เช่น วิตามิน เอ ซี บี และแคลเซียม ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต ลดการขยายตัวของมะเร็ง และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติบรรเทา อาการเมาสุราได้อีกด้วย โดยทั่วไปพลับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือพลับฝาด (astringent) กับ พลับหวาน (non-astringent) และที่ปลูกเป็นการค้าคือพันธุ์ Xichu และ Fuyu กับ Hyakume    พลับฝาด...ชื่อก็บอกทนโท่ว่ามีรสฝาด ซึ่งต้องนำมาขจัดความฝาดก่อนรับประทาน โดยการแช่ ผลพลับในน้ำปูนใส 5-7 วัน หรือบ่มด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 4-5 วัน หรือปล่อยให้ผลสุกนิ่ม ความฝาดก็จะหายไปเองโดยธรรมชาติ...ส่วน พลับหวาน จะรับประทานได้ทันทีเมื่อเก็บจากต้น    ปัจจุบันพลับก็เป็นพืช ที่ส่งเสริมปลูกให้เป็นรายได้ แก่เกษตรกรชาวเขา ในปริมณฑลบริวารดอยอ่างขาง ฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพลับ จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ในปีนี้ปริมาณการผลิต ของสถานีมีราวๆ 4 ตันกว่าเท่านั้น ส่วนการบริโภคได้มีการแปรรูป เพื่อเก็บรักษาให้รับประทานได้นาน ในรูปของพลับหมาด (พลับแห้ง) ได้อีกด้วย...แต่อย่าไปรอเปิบ ที่แปรรูปเลยสดๆอร่อยสุดๆ   ด้วยคุณสมบัติเด่น ในการเป็นอาหาร และโอสถสารของการเป็นสมุนไพร หลายคนคงสนใจ อยากจะลองชิมพลับขึ้นมาบ้าง ซึ่งหากเปิบ ที่เป็นผลผลิตจากโครงการหลวงดอยอ่างขาง  พลับเต็มไปด้วยวิตามินชนิดต่างๆ เช่น วิตามิน เอ ซี บี และแคลเซียม ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต ลดการขยายตัวของมะเร็ง และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติบรรเทา อาการเมาสุราได้อีกด้วย โดยทั่วไปพลับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือพลับฝาด (astringent) กับ พลับหวาน (non-astringent) และที่ปลูกเป็นการค้าคือพันธุ์ Xichu และ Fuyu กับ Hyakume    พลับฝาด...ชื่อก็บอกทนโท่ว่ามีรสฝาด ซึ่งต้องนำมาขจัดความฝาดก่อนรับประทาน โดยการแช่ ผลพลับในน้ำปูนใส 5-7 วัน หรือบ่มด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 4-5 วัน หรือปล่อยให้ผลสุกนิ่ม ความฝาดก็จะหายไปเองโดยธรรมชาติ...ส่วน พลับหวาน จะรับประทานได้ทันทีเมื่อเก็บจากต้น    ปัจจุบันพลับก็เป็นพืช ที่ส่งเสริมปลูกให้เป็นรายได้ แก่เกษตรกรชาวเขา ในปริมณฑลบริวารดอยอ่างขาง ฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพลับ จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ในปีนี้ปริมาณการผลิต ของสถานีมีราวๆ 4 ตันกว่าเท่านั้น ส่วนการบริโภคได้มีการแปรรูป เพื่อเก็บรักษาให้รับประทานได้นาน ในรูปของพลับหมาด (พลับแห้ง) ได้อีกด้วย...แต่อย่าไปรอเปิบ ที่แปรรูปเลยสดๆอร่อยสุดๆ   ด้วยคุณสมบัติเด่น ในการเป็นอาหาร และโอสถสารของการเป็นสมุนไพร หลายคนคงสนใจ อยากจะลองชิมพลับขึ้นมาบ้าง ซึ่งหากเปิบ ที่เป็นผลผลิตจากโครงการหลวงดอยอ่างขาง 

ลูกพลับ